เกี่ยวกับเรา

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ

โครงสร้าง

        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีพัฒนาการอำเภอชำนิเป็นหัวหน้าส่วนราชการ อยู่ในการปกครอง บังคับบัญชาและรับผิดชอบของพัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์

ภารกิจ/หน้าที่

        ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2552 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมีหน้าที่ดังนี้
        ขอ 16 สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ มีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้
        (1) ดําเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนในอําเภอ
        (2) ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของ หรือที่ไดรับ
มอบหมาย
        (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 23 ก หน้าที่ 20)

        รายละเอียดหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมีดังต่อไปนี้
        มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์และกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนระดับ อำเภอให้มีความเหมาะสมสอดกับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาของอำเภอและจังหวัด บริหารงานพัฒนาชุมชนอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำเภอ ภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชนและบริหารการพัฒนาอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำเภอ ตลอดจนบูรณาการกิจกรรม โครงการ แผนงานและการทำงานให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มจังหวัดและจังหวัดและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาปรับปรุงวิธีการทำงานพัฒนาชุมชนตามกรอบแนวทางที่กำหนดให้เหมาะสมกับ พื้นที่และสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สนับสนุน ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน การจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน แผนชุมชน การส่งเสริมการะบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของขุมชน การพัฒนามาตรฐานการพัฒนาชุมชน การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ การส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชนและอาชีพ การส่งเสริมและพัฒนาทุนชุมชน องค์กรการเงินชุมชน กองทุนชุมชน ตลอดจนการบริหารจัดการทุนชุมชนในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติงานแก่หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ศึกษา วิเคราะห์พัฒนาวิธีการจัดทำระบบสารสนเทศชุมชนตามกรอบแนวทางที่กำหนดให้เหมาะ สมกับพื้นที่และชุมชน บริหารจัดการและพัฒนาระบบ้อมูลสารสนเทศชุมชนระดับอำเภอ จัดทำข้อมูลเพ่อการพัฒนาชุมชน (ข้อมูล กชช.2ค จปฐ. และข้อมูลอื่นๆ) ในรูปแบบสารสนเทศชุมชนและให้บริการข้อมูล ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศชุมชนเพื่อการวางแผนพัฒนา การบริหารจัดการพัฒนาและการบูรณาการกิจกรรม โครงการ แผนและการทำงานร่วมกันในการพัฒนาชุมชนกับหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาค ส่วน รายงานผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินตามนโยบายและแผนงาน โครงการของกรมการพัฒนาชุมชน ประสานความร่วมมือและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรมและการทำงานให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานพัฒนาชุมชนเพื่อสื่อสารภาพลักษณ์และเผยแพร่ข่าวสาร ของกรมการพัฒนาชุมชนและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน ภาคีการพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง บริหารและดำเนินเกี่ยวกับงานสรบรรณ งานธุรการทั่วไป งานการเจ้าหน้าที่ งานงบประมาณ งานพัสดุ การเงิน และบัญชีของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
         (ที่มา: http://muang-sisaket.cdd.go.th/?page_id=991)

บุคลากร/เจ้าหน้าที่

        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ มีบุคลากร/เจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คน ดังนี้
        1. นายเสถียร สังอินทร์ พัฒนาการอำเภอชำนิ
        2. นางศรีสุดา เอกะวิภาต นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
        3. นายทอน ทองพา นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
        4. นายสุพจน์ ฉิมมาลี นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

แผนที่ตั้งหน่วยงาน

        ดูแผนที่ตั้งหน่วยงานคลิก ที่นี่

ติดต่อเรา

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ
ที่ว่าการอำเภอชำนิ เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ถนนชำนิ-เมืองยาง
ตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31110
โทรศัพท์: 0 4466 6424 e-mail: chamni.cdd@gmail.com
website: http://chamni.cdd.go.th/ และ http://chamni-cdd.blogspot.com/

QR CODE
คิวอาร์โค้ดลิงก์ http://chamni-cdd.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

        คลิกดาวน์โหลด ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ