โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ความเป็นมา
        รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        (1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
        (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
        (3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
        (4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
        (5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน
        เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งโดยรัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือด้านความรู้ เทคโนโลยี ทุน การบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง โดยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เชื่อมโยงไปสู่การดำเนินงานโครงการ OTOP ซึ่งในฐานะที่กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริม การดำเนินงาน OTOP ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการ อำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  แห่งชาติ (กอ.นตผ) รวมทั้งเป็นอนุกรรมการบริหาร อนุกรรมการส่งเสริมการผลิต  อนุกรรมการส่งเสริมการตลาด  อนุกรรมการมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ อนุกรรมการ/เลขานุการคณะกรรมการ นตผ. ระดับภูมิภาค และพัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการ/เลขานุการ นตผ.จังหวัด  และพัฒนาการอำเภอ เป็นอนุกรรมการ/เลขานุการ นตผ.อำเภอ  ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2545

ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีดังนี้
        ขั้นตอนที่ 1 ระดับตำบล มีหน้าที่หลักในกระบวนการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของ ตำบลให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบ ในท้องถิ่น และแผนชุมชน
        ขั้นตอนที่ 2 ระดับอำเภอ มีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์เด่นตำบลต่างๆ ของอำเภอ การบูรณาการแผน และงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
        ขั้นตอนที่ 3 ระดับจังหวัด มีหน้าที่หลักในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่น อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดบูรณาการแผนและงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
        ขั้นตอนที่ 4  และ 5 ระดับส่วนกลาง มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการดำเนินงาน “OTOP”  กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์การคัดเลือก/ขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อการสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท

ยุทธศาสตร์การพัฒนา OTOP

        การดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงจากท้องถิ่นสู่สากลในการพัฒนา คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ  กระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดให้ “การส่งเสริมอาชีพผลิตสินค้า OTOP” เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น โดยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานเศรษฐกิจ ของประเทศ ซึ่งเริ่มจากการรวมกลุ่มของประชาชนระดับฐานรากในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างพลังการพึ่งตนเองและ ช่วยเหลือกันของชุมชน  เพื่อแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ตลอดจนเครือข่ายกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนา ต่อยอดไปถึงระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อไป

การขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

        พ.ศ. 2544 การจัดกลไกบริหารและบูรณาการการทำงาน ...
        พ.ศ. 2545 การค้นหาผลิตภัณฑ์หลัก  (In Search of Excellent) ...
        พ.ศ. 2546 การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ (OTOP Product Champion : OPC) ...
        พ.ศ. 2547 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (Quality & Standard ) ...
        พ.ศ. 2548 การส่งเสริมด้านการตลาด  (Marketing) ...
        พ.ศ. 2549 การคัดสรร OTOP โดดเด่น  In Search  of  Excellent  OTOP ...
        พ.ศ. 2550 ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพทางการตลาด ...
        พ.ศ. 2551 เน้นการส่งเสริมการตลาด ...
        พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ...

บทบาทของกรมการพัฒนาชุมชน
        กรมการพัฒนาชุมชน ได้เข้าไปมีบทบาทในโครงการOTOP ทุกขั้นตอนซึ่งสอดคล้องกับภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นให้ เข้มแข็งพึ่งตนเองได้  ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วม ในการ ดำเนินงาน โดย กอ.นตผ. ได้มอบหมายให้ กรมฯ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานกิจกรรม ที่สำคัญโดยสังเขป ดังนี้
        1. การ สำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนา ...
        2. การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย ...
        3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปของการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge Based  OTOP : KBO) ...
        4. การดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว ...
        5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ...
        6. การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับภูมิภาค ...
        กรมการพัฒนาชุมชนได้ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและสนับสนุนให้เครือข่ายองค์ความรู้ ( KBO) จังหวัด เป็นศูนย์กลางช่วยเหลือการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สามารถระบายสินค้าได้มากที่สุด  ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดย กอ.นตผ.ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละ 2 ครั้ง คือการจัดงาน OTOP Midyear และการจัดงาน OTOP City ...
        ... จากผลสำเร็จของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โครงการ OTOP ของกรมการพัฒนาชุมชนที่ผ่านมา    มีผลงานเป็นรูปธรรมและมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน บริหารงบประมาณได้คุ้มค่าและตอบสนองตรงตามความต้องการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP และประชาชน โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนควบคู่ไปกับการยกระดับความสามารถใน การบริหารจัดการของผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP ตั้งแต่การพัฒนาคน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนาอาชีพ กระบวนการผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและการตลาด ตามหลักการพัฒนาชุมชน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบวงจร ส่งผลให้ชุมชนมีความพอมีพอกิน อยู่ดีกินดีจนถึงระดับมั่งมีศรีสุข สังคมเกิดความสงบสุข มีความสมานฉันท์ เกิดความมั่นคงและความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป

แนวคิดและหลักการ
        “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่เน้นกระบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์  ในแต่ละหมู่ บ้าน ชุมชนหรือ ตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมา พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่เป็น ที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละท้องถิ่นมีผลิตภัณฑ์หลักอย่าง น้อย 1 ประเภท ที่ใช้วัตถุดิบทรัพยากรของท้องถิ่น ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นไปสู่เมืองใหญ่ เป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง และเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่ต้อง อาศัยหมู่บ้านเป็นหน่วยการพัฒนาเบื้องต้น
        ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึงการบริการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีเอกลักษณ์ มีจุดเด่น จุดขาย ที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

หลักการพื้นฐาน
        1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local yet Global) ผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
        2. พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self - Reliance – Creativity) สร้างกิจกรรมที่อาศัยศักยภาพของท้องถิ่น คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนไม่ซ้ำแบบกันและเป็นที่ยอมรับทั่วไป
        3. การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) สร้างบุคลากรที่มีความคิดกว้างไกลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการผลิตและบริการมีจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์

        หลักการ ดังกล่าวไม่ได้เน้นการให้เงินสนับสนุนแก่ท้องถิ่น เพราะอาจไปทำลายความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน รัฐบาลเพียงให้การสนับสนุนด้านความรู้ เทคโนโลยีที่จะพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตลอดจนด้านการประชาสัมพันธ์ และช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดต่างๆเพื่อไปสู่เป้าหมายหลัก 3 ประการคือ
        1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพระดับสากล
        2. มีเอกลักษณ์เป็นที่ลือชื่อเพียงหนึ่งเดียว
        3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงเทคโนโลยี

กิจกรรมหลักที่สำคัญ
        1. ขยายสินค้าท้องถิ่นไปยังตลาด โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพเพื่อขยายออกสู่ตลาดทุกระดับ
        2. ผลิตและคิดค้นขึ้นเองโดยคนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน ในด้านความรู้ เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและการวิจัยที่ครบวงจร
        3. สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของท้องถิ่น มีความรู้ความสามารถความคิดกว้างไกล มีการบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นการผลิตและบริการโดยคำนึกถึงผู้บริโภคเป็นหลัก

การขับเคลื่อน OTOP
    การจัดกลไกการบริหาร กระบวนการ และโครงสร้างการดำเนินงาน
        คณะ กรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ) มีกลไกการบริหารที่เชื่อมโยงกันลงไปถึงในระดับพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือปฎิบั9bงาน ของ กอ.นตผ. ซึ่งตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545ประกอบด้วยกลไกการบริหารงาน ดังนี้
        1. ส่วนกลาง
            1.1 คณะกรรมการ กอ.นตผ. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อธิบดีกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
            1.2 คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
                1.2.1 คณะอนุกรรมการบริหาร
                1.2.2 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิต
                1.2.3 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด
                1.2.4 คณะอนุกรรมการมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
                1.2.5 คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดและอำเภอ/กิ่งอำเภอ
        2. ส่วนภูมิภาค
            2.1 คณะอนุกรรมการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ภูมิภาค ประกอบด้วย
                2.1.1 ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานอนุกรรมการ
                2.1.2 หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อนุกรรมการ
                2.1.3 อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อนุกรรมการและเลขานุการ
            2.2 คณะอนุกรรมการ นตผ.จังหวัด ประกอบด้วย
                2.2.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
                2.2.2 หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อนุกรรมการ
                2.2.3 ภาคเอกชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการ
                2.2.4 พัฒนาการจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ
            2.3 คณะอนุกรรมการ นตผ. อำเภอ/กิ่งอำเภอ ประกอบด้วย
                2.3.1 นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอ ประธานอนุกรรมการ
                2.3.2 ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อนุกรรมการ
                2.3.3 ภาคเอกชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการ
                2.3.4 พัฒนาการอำเภอ/กิ่งอำเภอ อนุกรรมการและเลขานุการ
        ภารกิจหลักของกลไกส่วนภูมิภาคเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของ ตำบลต่างๆ เพื่อเสนอต่อ กอ.นตผ การบูรณาการแผนงานและงบประมาณของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดในระดับพื้นที่ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
            ขั้นตอนที่ 1 ระดับตำบล องค์กรรับผิดชอบ อบต./ท้องถิ่น มีหน้าที่หลักในกระบวนการจัดเวทีประชาคม เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบในท้องถิ่นและแผนชุมชน
            ขั้นตอนที่ 2 ระดับ อำเภอ/กิ่งอำเภอ องค์กรรับผิดชอบ นตผ. อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีหน้าที่หลักในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์เด่นตำบลต่าง ๆ ของอำเภอ/กิ่งอำเภอ การบูรณาการแผน และงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
            ขั้นตอนที่ 3 ระดับ จังหวัด องค์กรรับผิดชอบ นตผ.จังหวัด มีหน้าที่หลักในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นอำเภอต่าง ๆของจังหวัด การบูรณาการแผนและงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุน
            ขั้นตอนที่ 4 และ 5 ระดับส่วนกลางองค์กรรับผิดชอบ กอ.นตผ. มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการดำเนินงาน “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์การคัดเลือก ขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บท

KBO
        กรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนให้มีการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่าย องค์ความรู้ (Knowledge - Based OTOP : KBO) ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เพื่อให้มีแหล่งความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการกลุ่ม เทคโนโลยีการผลิตหรือความรู้เฉพาะด้านของผลิตภัณฑ์ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความ รู้ ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต OTOP ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นต้องการของตลาด สามารถจำหน่าย ได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยดำเนินการใน ๗๕ จังหวัด ในการนี้ จังหวัดต่างๆ ได้ดำเนินการสรุปผลการดำเนินของ เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด ในการพัฒนาขีดความสามารถแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้กรมฯ เพื่อเผยแพร่ต่อไป

หมู่บ้าน OVC
        กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวง มหาดไทย  ดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงสินค้า OTOP ที่เป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้หมู่บ้านสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม และใช้จ่ายในหมู่บ้าน  ได้รับประสบการณ์ที่อบอุ่น ประทับใจ อยากกลับมาเที่ยวซ้ำอีก ซึ่งเป็นก่อเกิดรายได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2550 – ปัจจุปัน มีการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวไปแล้ว 26 หมู่บ้าน

การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion : OPC)
        ... กรมการพัฒนาชุมชน ใน ฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริม         การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้ยึดแนวทางการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ของแต่ละชุมชนได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานจนสามารถเชื่อมโยง สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ โดยการกำหนดให้มีการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP  Product  Champion : OPC)  อย่างต่อเนื่อง ...

ที่มา : http://www.cep.cdd.go.th/#
การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ
        ...
    พ.ศ. 2557
        แบบฟอร์มการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://drive.google.com/file/d/0B41H9tbjPO0oRXN6M2lobjV5bDA/view?usp=sharing หรือ  http://www.imd.co.th/download/PDF.rar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

        คลิกดาวน์โหลด ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ