ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ( จปฐ.) คืออะไร
        ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ
        ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

หลักการสําคัญของ จปฐ.
        1. ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน
ในหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึง สภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า
บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่
        2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการ จปฐ. นับตั้งแต่การกำหนดปัญหา
ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ตลอดจนค้นหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ข้อมูล จปฐ.  ที่มีอยู่ตลอดจน การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
        3. ใช้ข้อมูล จปฐ. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่างๆ ของรัฐให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
ที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของ จปฐ.
        “เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ. เป็นเครื่องมือ”

หัวใจของข้อมูล จปฐ.
        หัวใจของการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แท้จริงแล้วอยู่ที่ “ประชาชน” ที่สามารถทราบปัญหาของ “ตนเอง” เวลาที่จัดเก็บข้อมูล จปฐ. ประชาชนจะทราบทันทีว่า “เขามีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร ขาดข้อใด” โดย จปฐ. เป็นเสมือนวัฏจักรที่สามารถช่วยในการปรับปรุงตนเอง คำว่า “ตนเอง” ในที่นี้ยังหมายรวมถึง “หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด” อีกด้วย เพราะการจัดเก็บและประมวลผล จปฐ. จะมีการนำข้อมูลมาสรุปภาพรวมในแต่ละระดับตั้งแต่หมู่บ้าน เรื่อยไปจนถึงระดับ จังหวัด และประเทศ

ประโยชน์ของข้อมูล จปฐ.
        1. ประชาชน สามารถทราบว่า “ตนเองมีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง ผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์
ใดบ้าง” ทั้งนี้ ไม่จำเป็นเสมอไปว่าคนรวยหรือคนที่อยู่ในเมืองใหญ่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น มิได้วัดที่รายได้เพียงอย่างเดียว
        2. ภาคราชการหรือภาครัฐ สามารถทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของประชาชนว่า ครอบครัว ครัวเรือน
หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดใด มีปัญหาในเรื่องอะไร เพื่อสามารถวางแผนการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้ตรงกับปัญหาที่ชาวบ้านต้องการ
        3. ภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลจาก จปฐ. มาใช้ในการตัดสินใจและวางแผนในการบริหารจัดการ
เพื่อลงทุนทางธุรกิจ

        การปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) แผนฯ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) กำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการชี้วัดว่า คนในแต่ละครัวเรือน ควรมีคุณภาพชีวิตขั้นต่ำในเรื่องนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ปกติจะกำหนด 5 ปี ตามระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ตามเกณฑ์
ที่กำหนด จึงจะถือว่า "มีคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)"

ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน
        ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (ปี 2555-2559) มีจำนวน 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด
        หมวดที่ 1 สุขภาพดี มี 7 ตัวชี้วัด
          1. เด็กแรกเกิดมีน้าหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม
          2. เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
          3. เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน
          4. ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
          5. คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
        หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด
          6. คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคฯ
          7. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกาลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที
          8. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร
          9. ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสาหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี
          10. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี
          11. ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ
          12. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ
          13. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี
          14. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          15. ครัวเรือนมีความอบอุ่น
        หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด
          16. เด็กอายุ 3-5 ปีเต็ม ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
          17. เด็กอายุ 3-5 ปีเต็ม ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
          18. เด็กอายุ 6-14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
          19. เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า
          20. เด็กจบการศึกษาบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ
        หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า มี 4 ตัวชี้วัด
          21. คนอายุ 15-60 ปี มีอาชีพและมีรายได้
          22. คนอายุมากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป มีอาชีพและมีรายได้
          23. คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30,000 บาทต่อปี
          24. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน
        หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย มี 6 ตัวชี้วัด
          25. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)
          26. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่
          27. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
          28. คนสูงอายุ ได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ
          29. คนพิการ ได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ
          30. คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือท้องถิ่น

การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ
        อำเภอชำนิ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และมีผลการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ในแต่ละปี ดังนี้

    พ.ศ. 2557
        อำเภอชำนิ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในพื้นที่ จำนวน 6 ตำบล รวมทั้งสิ้น จำนวน 7,554 ครัวเรือน ได้ผลสรุปการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตของครัวเรือน (จปฐ.) ปี 2557 ระดับอำเภอ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบสรุปผลฯ หากต้องการดูรายละเอียด คลิก ดูรายละเอียด

    พ.ศ. 2556
        -

    พ.ศ. 2555
        -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

        คลิกดาวน์โหลด ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ