แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

        กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลัก ในการสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาวิทยากรกระบวนการ และระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนและบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
        เป็นการพัฒนาคุณภาพแผนชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและ ยอมรับของหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เกณฑ์มาตรฐานแผนชุมชน 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
        1) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        2) การมีส่วนร่วม
        3) กระบวนการเรียนรู้
        4) การใช้ประโยชน์
        5) รูปเล่มของแผนชุมชน
(จากการศึกษาและพัฒนาของกรมฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล เป็นการเชื่อมโยงแผนชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน ที่สะท้อนปัญหาและ ความต้องการในภาพรวมระดับตำบล 

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
        1. องค์กรปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับและเห็นประโยชน์ของแผนชุมชน
        2. ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

แผนชุมชน คือ อะไร?
        แผนชุมชน คือ แผนงาน กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใชเปนแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือทองถิ่นตนเองใหเปนไปตามความตองการ และสามารถแกไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยูรวมกันได โดยคนในชุมชนไดมารวมคิด รวมกําหนดแนวทาง และกิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ดวยการคํานึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอมในทองถิ่นเปนหลัก 

กระบวนการจัดทําแผนพัฒนาหมูบาน/ชุมขน
    ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดประชุมประชาคม
        1.1 คณะกรรมการหมูบาน / กม.อพป.กําหนดวัน เวลา และสถานที่จัดเวทีประชาคม รูปแบบการจัดเวทีประชาคม และระเบียบวาระ/ลําดับการนําเสนอ
        1.2 ประสานสวนราชการที่เกี่ยวของทราบ เพื่อนําแผนงาน/โครงการ เขารวมบูรณาการ
        1.3 แจง อปท. เขารวมกระบวนการ
        1.4 แจงอําเภอเพื่อจัดเตรียมตําบลเขารวมเปนพี่เลี้ยง
        1.5 เชิญผูแทน คร. เขารวมการเวทีประชาคมตองไมนอยกวา รอยละ 70 ของครัวเรือนทั้งหมด
    ขั้นตอนที่ 2 การประชุมประชาคม
        2.1 ใหผูมารวมจัดเวทีประชาคมลงทะเบียนทุกคน
        2.2 ประสานสวนราชการที่เกี่ยวของทราบ เพื่อนําแผนงาน/โครงการ เขารวมบูรณาการ
        2.3 จัดหมวดหมูขอมูล แผนงาน/โครงการ
        2.4 วิเคราะหขอมูลจัดลําดับความสําคัญ
        2.5 เสนอแนวทางแกไข/ทิศทางการพัฒนาหมูบาน
        2.6 ตรวจสอบเอกสารสรุปผลการประชาคมเบื้องตนและลงมติ
        2.7 บันทึกผลการประชุมประชาคม
    ขั้นตอนที่ 3 การจัดทําแผนพัฒนาหมูบาน
        คณะกรรมการหมูบาน /คณะกรรมการกลางหมูบาน อพป. ดานจัดทําแผนพัฒนาหมูบานรวบรวมขอมูลจากการประชุมหมูบาน ไปจัดทําแผนพัฒนาหมูบานเปนรูปเลม เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการหมูบาน /คณะกรรมการหมูบาน กลาง อพป. ใหความเห็นชอบและรับรอง
    ขั้นตอนที่ 4 การใหความเห็นชอบและรับรองแผนพัฒนาหมูบาน
        4.1 คณะกรรมการหมูบาน /คณะกรรมการกลางหมูบาน อพป. ประชุมเพื่อพิจารณารางแผนพัฒนาหมูบาน
        4.2 เมื่อที่ประชุมมี มติรับรอง ฯ ใหประธาน คณะกรรมการหมูบาน / คณะกรรมการกลางหมูบาน อพป. เปนผูลงนามรับรอง
    ขั้นตอนที่ 5 การประสานและการใชแผนพัฒนาหมูบาน
        5.1 จัดเก็บไวใชประโยชนในการพัฒนาหมูบาน
        5.2 จัดสงให  อปท.และหรือ อบจ. เพื่อเปนแผนงาน/โครงการบรรจุไวในแผนพัฒนาทองถิ่น
        5.3 จัดสงใหอําเภอเพื่อเปนขอมูลจัดทําแผนพัฒนาอําเภอและแผนพัฒนาจังหวัด
        5.4 จัดสงใหองคกรเอกชน หรือหนวยงานที่เกี่ยวของ
    ขั้นตอนที่ 6 การทบทวน/ปรับปรุงแผนพัฒนาหมูบาน
        ใหมีการทบทวนหรือปรับปรุงแผนพัฒนาหมูบาน ตามขั้นตอนที่ 1-5 อยางนอยปละ 1 ครั้ง เพื่อใหแผนพัฒนาหมูบานเป นปจจุบันสามารถใชเปนแนวทางพัฒนา และแกไขปญหาของหมูบานในสถานการณที่มีการเปลี่ยนแปลงไดอยางมีประสิทธิภาพ
    ขั้นตอนที่ 7 ตรวจสอบ/ติดตามการดําเนินงานตามแผนพัฒนาหมูบาน
        คณะกรรมการหมูบาน /คณะกรรมการกลางหมูบาน อพป. และชาวบานรวมกันตรวจสอบและติดตามการดําเนินงานตามแผนพัฒนาหมูบาน ดังนี้
        7.1 ตรวจสอบการดําเนินงานแผนงาน/โครงการเพื่อใหเกิ ดความโปรงใส
        7.2 ตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากแผนงาน/โครงการรวมกันหาทางแกไข
ปญหาหรือแจงหนวยงานที่รับผิดชอบ
        7.3 ติดตามเรงรัดการดำเนินงาน
        7.4 ตรวจสอบแผนงาน/โครงการ และระดมสรรพกําลังภายในหมูบาน เพื่อดําเนินการการตามแผนงาน/โครงการที่หมูบานมีศักยภาพสามารถดําเนินการได
        7.5 รายงานผลการดําเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ที่ประสพผลสําเร็จตอที่ประชุมประชาคมหมูบาน/อปท./อําเภอ/หนวยงานที่เกี่ยวของเพื่อประชาสัมพันธ 

สวนประกอบของแผนชุมชน
        ประวัติความเปนมาของชุมชน
        แผนผังชุมชน
        สวนที่ 1 ขอมูลทั่วไป
        สวนที่ 2 ขอมูลปญหาของหมูบาน
        สวนที่ 3 ขอมูลแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ
        ภาคผนวก ไดแก สําเนาบันทึกการประชุม แบบเครื่องมือจัดเก็บขอมูล รายชื่อผูจัดทํา และอื่นๆ


ตัวอย่างรูปเล่มแผนพัฒนาหมู่บ้าน
  • รูปแบบเอกสาร Microsoft Word (doc) คลิก ส่วนที่ 1-2, 3-4, และ 5
  • รูปแบบเอกสาร Portable Document Format (pdf) คลิก ส่วนที่ 1-5
  • ตัวอย่างรูปแบบแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน แบบเก่า *.doc + xls คลิก ที่นี่ *.pdf คลิก ที่นี่

ประโยชนของแผนชุมชน
        1. สงเสริมคนในชุมชนใหเกิ ด  5   รวม  (รวมคิด รวมวางแผน รวมดําเนินการ รวมรับผิดชอบ และรวมรับผลประโยชน)
        2. ชุมชนมีทิศทาง และเปาหมาย ในการพัฒนาชุมชน ตามสภาพปญหาและความตองการของชุมชน
        3. เป นเครื่องมือประสานบู รณาการ ในการทํางาน  สงเสริม  และใหการสนับสนุนงบประมาณ หรืออื่นๆ ของภาคีภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวของ

เปาหมายการจัดทําแผนชุมชน
        1. ชุมชนมีแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
        2. ชุมชนมีเปาหมายในการพัฒนาตรงตามความตองการของคนในชุมชน
        3.  ชุมชนมีการพัฒนาตนเองตามแผน
        4. ชุมชนไดรับการสนับสนุ นกิจกรรมตามแผนชุมชน จากภาคีพัฒนา
        5. ประชาชน อยูดีมีสุข หมูบาน/ชุมชนมีความชุมชนเขมแข็งยั่งยืน 

การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ
        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชำนิ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเป็นหน่วยให้ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น กชช.2ค และ จปฐ. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการแผนชุมชน และส่งเสริมและสนับสนุนให้หมู่บ้านต่างๆ สมัครเข้าสู่กระบวนการประเมินมาตรฐานแผนชุมชนเป็นประจำทุกปี

    พ.ศ.2557
ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ปีงบประมาณ 2557 อำเภอชำนิมีหมู่บ้านได้สมัครรับเข้ารับการประเมินรับรองมาตรฐานแผนชุมชน จำนวน 12 หมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านสำโรง ม.5 ต.หนองปล่อง
2. บ้านปราสาทพร ม.8 ต.หนองปล่อง
3. บ้านหนองตาเปล่ง ม.6 ต.ช่อผกา
4. บ้านโคกตาแก้ว ม.10 ต.ช่อผกา
5. บ้านโคกสนวน ม.1 ต.โคกสนวน
6. บ้านหนองกระทุ่ม ม.2 ต.โคกสนวน
7. บ้านราษฎร์พัฒนา ม.11 ต.เมืองยาง
8. บ้านระดมสุข ม.12 ต.เมืองยาง
9. บ้านหนองเพิก ม.5 ต.ละลวด
10. บ้านหนองบอน ม.7 ต.ละลวด
11. บ้านหนองม่วง ม.3 ต.ชำนิ
12. บ้านหนองตะเคียน ม.7 ต.ชำนิ
ผลการประเมินฯ ปรากฏว่า ผ่านการประเมินฯ ทั้งหมด ทั้ง 12 หมู่บ้าน ตามประกาศจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่องประกาศผลการประเมินรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2557 คลิก ดูรายละเอียด
ผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://203.114.112.231/ecs/lampang/index.php?pages=concept&ac=2&serial=1-0000000001-0000000001

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

        คลิกดาวน์โหลด ตัวอย่างระเบียบกองทุนหมู่บ้าน ว่าด้วยการบริหารโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ